Menu
home
>>
อธิบดีกรมทางหลวงชนบทลงพื้นที่พร้อมคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมี นางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงคมนาคม นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบทพร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ โดยมี นายกำพล สิริรัตตนนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ให้การต้อนรับ ในวันที่ 27 มกราคม 2566 ณ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
สำหรับการลงพื้นที่ตรวจราชการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ , การแก้ไขปัญหาการจราจร และรองรับการเดินทางของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนสนับสนุนการค้า การท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยกระทรวงฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามภารกิจ และได้เร่งรัดเปิดให้บริการโครงข่ายคมนาคมเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ ส่งเสริมภาคเกษตรกรรม สนับสนุนการกระจายรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และสนับสนุนการค้าการท่องเที่ยว
ในส่วนของกรมทางหลวงชนบทมีการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท
ประกอบด้วย
1. โครงการสะพานข้ามลำห้วยร่องขุม อำเภอตระการพืชผล อยู่ระหว่างดำเนินการ
ผลการก่อสร้าง 91.81% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2566
2. โครงการถนนสาย อบ.3007 แยกทล.212-บ้านเหล่าเสือโก้ก อำเภอม่วงสามสิบ อยู่ระหว่างดำเนินการ ผลการก่อสร้าง 80.10% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2566
3. โครงการถนนเชิงลาดสะพานข้ามลำมูลน้อย อำเภอเมือง อยู่ระหว่างดำเนินการ ผลการก่อสร้าง 57.04% อยู่ระหว่างขออนุมัติขยายระยะเวลาการก่อสร้าง
4. โครงการสะพานแม่น้ำลำเซบก อำเภอดอนมดแดง อยู่ระหว่างดำเนินการ ผลการก่อสร้าง 50.84% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567
5. โครงการสะพานข้ามลำห้วยหลวง อำเภอนาจะหลวย อยู่ระหว่างการจัดจ้าง
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กำชับให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยต้องจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติและจะต้องคำนึงถึงปัจจัยการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และต้องสร้างความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนก่อนเริ่มการดำเนินโครงการ และควรคำนึงถึงเรื่อง Climate Change เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในอีก 25 ปีข้างหน้า รวมถึงควบคุมดูแลการก่อสร้างให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยและเป็นไปตามแผนงานที่กำหนด และมีมาตรการการป้องกันอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างอย่างเคร่งครัด สำหรับการสำรวจและออกแบบก่อสร้างโครงการต่าง ๆ จะต้องพิจารณาด้านอุทกศาสตร์ไม่ให้กีดขวางทางระบายน้ำ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้อย่างยั่งยืน และใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าซึ่งการดำเนินงานต่าง ๆ จะต้องยึดกฎ ระเบียบ ข้อกฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด

อื่นๆ

กรมทางหลวงชนบท อัปเดต!! สร้างสะพานบนถนนสาย รย.4060 “ระยอง – จันทบุรี” เชื่อมต่อระบบนิเวศระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา – เขาวง คืบหน้ากว่า 31% คาดแล้วเสร็จ พ.ค. 68

Skip to content