Menu
home
>>
กรมทางหลวงชนบท ยกระดับถนนสาย นม.3010 จ.นครราชสีมา เปิดให้ประชาชนใช้สัญจรเรียบร้อยแล้ว พร้อมส่งเสริมเศรษฐกิจการคมนาคมในพื้นที่ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างอำเภอให้มีประสิทธิภาพ

นายมนตรี เดชาสกุลสม อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า กรมทางหลวงชนบท (ทช.) มีนโยบายปรับปรุงถนนและยกระดับมาตรฐานชั้นทาง เพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ถนนทางหลวงชนบทสาย นม.3010 แยก ทล.226 – บ้านพิทักษากร อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างทาง ทล.226 กับ ทล.206 ผิวจราจรเดิม โดยทั่วไปเป็นผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตและบางช่วงเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งแต่เดิมถนนสายดังกล่าวในบางช่วงมีความชำรุดเสียหาย เนื่องจากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน และมีปริมาณจราจรเพิ่มขึ้นรถบรรทุกขนาดใหญ่วิ่งผ่านเป็นประจำ จึงมีความจำเป็นต้องขยายความกว้างและปรับปรุงโครงสร้างทางให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างถนนดังกล่าวแล้วเสร็จตามมาตรฐานของ ทช. สามารถรองรับปริมาณจราจรได้ทั้งในปัจจุบัน
และอนาคต ประชาชนในพื้นที่สามารถใช้เส้นทางสัญจรไป – มา ได้อย่างสะดวกรวดเร็วปลอดภัย รวมถึงเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ เพื่อการเดินทางของประชาชน และใช้เป็นทางลัดทางเลี่ยงจากอำเภอจักราชและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ไปยังอำเภอพิมาย และอำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมาช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางอีกด้วย

อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการก่อสร้างถนนทางหลวงชนบทสาย นม.3010 แยก ทล.226 – บ้านพิทักษากร อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ตั้งแต่บริเวณ กม.ที่ 0+000 ถึง กม.ที่ 0+400 บริเวณเชื่อมต่อกับ ทล.226 ก่อสร้างผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 4 ช่องจราจร ช่องจราจรละ 3.25 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1.5 เมตร และเกาะกลางกว้าง 2 เมตร พร้อมระบบระบายน้ำสองข้างทาง กม. ที่ 0+400 ถึง กม. ที่ 2+000 ก่อสร้างผิวจราจรผิวแอสฟัลต์คอนกรีต ขนาด 2 ช่อง จราจร กว้างช่องจราจรละ 3.25 เมตร ไหล่ทางข้างละ 2.5 เมตร ช่วงที่ 2 ตั้งแต่บริเวณ กม.ที่ 5+000 ถึง กม.ที่ 5+800 ก่อสร้างผิวจราจรแอสฟัลต์คอนกรีต ขนาด 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทางข้างละ 2.5 เมตร กม.ที่ 5+800 ถึง กม.ที่ 6+400 ปรับปรุงโครงสร้างถนนเดิม โดยวิธี
Pavement in – Place Recycling พร้อมก่อสร้างผิวจราจรแอสฟัลต์คอนกรีต ขนาด 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1 เมตร และช่วงที่ 3 ตั้งแต่บริเวณ กม.ที่ 7+100 ถึง กม.ที่ 7+900 ปรับปรุงโครงสร้างถนนเดิม โดยวิธี Pavement in Place Recycling พร้อมก่อสร้างผิวจราจรแอสฟัลต์คอนกรีต ขนาด 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทางข้างละ 2.5 เมตร พร้อมระบบระบายน้ำ และสิ่งอำนวยความปลอดภัย รวมระยะทาง 4.200 กิโลเมตร ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 54.98 ล้านบาท

อื่นๆ

Skip to content