Menu
home
>>
กรมทางหลวงชนบท บำรุงถนนสาย ปท.3035 จังหวัดปทุมธานี เสร็จสมบูรณ์ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายสายทาง สนับสนุนการขนส่งสินค้าทางการเกษตร พัฒนาระบบการคมนาคมในพื้นที่อย่างสมบูรณ์

นายมนตรี เดชาสกุลสม อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า ถนนทางหลวงชนบทสาย ปท.3035 เป็นสายทางที่เริ่มต้นตั้งแต่เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เลียบคลอง 13 ไปบรรจบกับ ทล.305 (รังสิต – นครนายก) จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นเส้นทางที่สำคัญที่ประชาชนใช้ในการสัญจร สนับสนุนการลำเลียงผลผลิตทางเกษตรในพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญ ทช.จึงได้ดำเนินการโครงการบำรุงถนนทางหลวงชนบทสาย ปท.3035 แยก ทล.305 – คลองแสนแสบ อำเภอธัญบุรี, ลำลูกกา, หนองจอก จังหวัดปทุมธานี, กรุงเทพมหานคร ระยะทาง 1.600 กิโลเมตร โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 14.95 ล้านบาท

เนื่องจากโครงสร้างถนนสายดังกล่าวมีการเสื่อมสภาพจากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน และปริมาณการจราจรที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับเหตุอุทกภัย ส่งผลให้โครงสร้างชั้นทางได้รับความเสียหาย ทช.จึงได้ดำเนินการซ่อมบำรุงผิวจราจร โดยดำเนินการขุดกัดผิวทางและขุดซ่อมโครงสร้างเดิม (DEEP PATCH) พร้อมทั้งขุดกัดผิวทางเดิม พื้นทาง และไหล่ทางเดิม โดยวิธี Pavement In-Place Recycling แล้วจึงดำเนินการปูผิวแอสฟัลต์ติกคอนกรีตกว้าง 9 เมตร ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย ปุ่มสะท้อนแสง และตีเส้นจราจรด้วยสีเทอร์โมพลาสติกพร้อมตีเส้นชะลอความเร็วทั้ง 2 ทิศทาง บริเวณแยกถนนวัดใหม่เจริญราษฎร์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นตั้งแต่ช่วง กม.ที่ 20+375 ถึง กม.ที่ 21+975

ปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ และเปิดใช้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแรงมั่นคงของผิวจราจร รองรับปริมาณการจราจรที่จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคต พร้อมเพิ่มความสะดวกและปลอดภัยให้กับประชาชน เชื่อมต่อการเดินทางสู่ถนนสายหลัก และสถานที่สำคัญในพื้นที่ เช่น มัสยิด โรงเรียน รวมถึงการขนส่งสินค้า พืชผลทางการเกษตรได้อย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

อื่นๆ

อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เข้าร่วมประชุมกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในโอกาสที่คณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา ได้เดินทางมาร่วมหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น/พิจารณาแนวทางการพัฒนาระบบคมนาคม

กรมทางหลวงชนบท รับฟังความต้องการของประชาชนในพื้นที่ จ.สตูล ปรับเปลี่ยนจุดบำรุงถนนสาย สต.3001 มุ่งยกระดับคุณภาพการคมนาคมในเขตชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ทางในพื้นที่ให้มากที่สุด

Skip to content