Menu
home
>>
กรมทางหลวงชนบท เชิญชวนท่องเที่ยวชมมรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของไทย บนถนนสาย พท.5050 อ.ควนขนุน จ.พัทลุง – อ.ระโนด จ.สงขลา ขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศ
ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ (พท.5050) อำเภอควนขนุน, ระโนด จังหวัดพัทลุง, สงขลา หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ถนนบ้านไสกลิ้ง – บ้านหัวป่า อยู่ในความดูแลของสำนักงานทางหลวงชนบทที่ 14 (กระบี่) เป็นสะพานยกระดับที่ยาวที่สุดในประเทศไทยตามแนวทะเลน้อยกับทะเลหลวงของทะเลสาบสงขลา เชื่อมระหว่างจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา รวมระยะทาง 5.450 กิโลเมตร ซึ่งมีความน่าสนใจเพราะได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ให้เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (GIAHS) แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อปี 2565 เนื่องจากมีวิถีการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเป็นระยะเวลากว่า 250 ปี มีการเลี้ยงควายปลักหรือควายน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย นอกจากนี้ยังมีบ้านแฝดแห่งทะเลน้อยเป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้องแวะถ่ายรูปเช็คอินเก็บไว้เป็นที่ระลึก ยิ่งช่วงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตกจะได้เห็นแสงอาทิตย์กระทบกับผิวน้ำ โดยในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ยังเป็นช่วงที่ดอกบัวแดงบานเหมาะกับการล่องเรือชมวิวและยังเป็นจุดชมนกน้ำนานาพันธุ์ ซึ่งตลอดแนวสะพานจะมีป้ายแนะนำพันธุ์นกน้ำตลอดเส้นทางอีกด้วย
สำหรับการเดินทางมายังถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ (พท.5050) สามารถเดินทางโดยเริ่มจากสี่แยกเอเชียพัทลุงวิ่งไปบน ทล.41 จนถึงสี่แยกโพธิ์ทอง อำเภอควนขนุน จากนั้นให้เลี้ยวขวาเข้า ทล.4187 ระยะทาง 17 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสาย พท.4007 ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ (พท.5050) ทั้งนี้ ทช. ยังได้ติดตั้งป้ายแนะนำเส้นทางท่องเที่ยวบริเวณโครงข่ายทางหลวงชนบท เพื่อความสะดวกในการเดินทางของประชาชน หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่แขวงทางหลวงชนบทพัทลุงโทรศัพท์ 074 840 446

อื่นๆ

อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เข้าร่วมพิธีลงนาม “สัญญาการให้เอกชนร่วมลงทุนในการพัฒนาและบริหารจัดการโครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง ช่วงชลบุรี – พัทยา”

กรมทางหลวงชนบท ระดมเจ้าหน้าที่เร่งถมดินบริเวณคอสะพานบนถนนสาย ชร.3037 ให้ประชาชนสามารถสัญจรผ่านได้ พร้อมอัปเดตสถานการณ์สายทางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลง

Skip to content